8 สิ่งที่ต้องทำก่อนวัยเกษียณ

ความพร้อมทั้งทางกายและใจในวัยหลังเกษียณไม่ได้เกิดขึ้นได้เมื่อคุณอายุ 60 แต่คุณต้องเตรียมมันขึ้นมาก่อนจะถึงเวลานั้น เพราะถ้าคุณเตรียมตัวตอนนั้นมันอาจจะสายเกินแก้
และในเมื่อคุณมีเวลาเตรียมตัวล่วงหน้าตั้ง 60 ปีให้เรามีความเป็นอยู่วัยเกษียณที่มีความสุขด้วยเคล็ดลับง่ายๆ 8 ข้อ เรามาเตรียมพร้อมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดียามเกษียณแล้วกันเถอะ !

เตรียมใจยอมรับสภาพร่างกาย
อย่างแรกที่เราต้องทำคือเปิดใจยอมรับในความไม่เที่ยงของร่างกายเพราะสภาพร่างกายในตัวเรามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดอยู่แล้ว และเมื่อเราใช้งานมันนาน ก็ย่อมมีความเสื่อม
สภาพลงเป็นธรรมดา อย่าไปยึดติดว่าร่างกายเราต้องแข็งแรงตลอด แต่ถ้าอยากแข็งแรงไปนานๆ เราต้องเตรียมตัวดูแลตั้งแต่เนิ่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ
เน้นอาหารให้ครบ 5 หมู่ มีการออกกำลังกายและตรวจสุขภาพบ้าง เพื่อจะได้ป้องกันและแก้ไขได้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะถ้าเรารู้ก่อน ก็สามารถตระหนักและหาทางแก้ไขได้ก่อนสายได้

เตรียมใจยอมรับสภาพจิตใจ
แน่นอนว่า อารมณ์ของเราก็ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปได้ เพราะเราอาจจะไม่สามารถทำอะไรได้คล่องแคล่วเหมือนเดิมแล้ว นอกจากนี้เราจะเริ่มมีเวลาว่างมากขึ้น ในขณะที่ลูกหลาน
อาจจะมีเวลาว่างให้เราน้อยลง ซึ่งอาจทำให้เกิดอารมณ์น้อยใจ เหงา กลัวได้ ดังนั้น ต้องเปิดใจยอมรับว่าพวกเขาก็ต้องไปทำหน้าที่ของเขาเหมือนอย่างที่เราเคยทำ หรืออาจจะหาเวลาไปบ้าน
พักคนชราหรือทำกิจกรรมเกี่ยวกับผู้สูงอายุบ้าง จะได้รับรู้และเข้าใจพวกเขามากขึ้น จะได้เปิดใจยอมรับได้

คำนวณเงินออมที่ต้องเก็บไว้ใช้ยามเกษียณ
สิ่งนี้สำคัญมากเพราะเงินเป็นสิ่งที่ใช้แลกเปลี่ยนสิ่งที่เราต้องการบางอย่างได้ไม่ว่าจะเป็น ที่อยู่อาศัย อาหาร สุขภาพ ซึ่งถ้าเราไม่มีเงินเก็บมาดูแลตัวเองส่วนนี้ หวังพึ่งแต่ลูกหลานที่ก็
ไม่รู้ว่าพวกเขาจะมีเงินพอสำหรับดูแลเราหรือไม่ เพราะพวกเขาก็ต้องดิ้นรนเหมือนกัน หรือรัฐบาลเองซึ่งมีเบี้ยยังชีพให้ไม่มาก อาจะไม่เพียงพอในการดำรงชีวิตอยู่ ดังนั้นเราต้องสร้างความ
มั่นคงให้กับตัวเราเอง

เราควรคำนวณไว้ว่า หลังเกษียณ เราอยากมีเงินใช้เดือนละเท่าไหร่ เช่น สมมติว่าอยากมีเงินใช้เดือนละ 10,000 บาท อาจจะต้องคำนวณว่า ถ้าจะเกษียณตอน 60 และมีอายุถึง 80 ปี
เราต้องมีเงินเก็บอย่างน้อย 2,400,000 บาท และถ้าเราคิดจะเริ่มเก็บตอนอายุ 30 ปี เราอาจจะต้องเก็บให้ได้ เดือนละประมาณ 6,700 บาท นอกจากนี้ อาจจะนำเงินเก็บนี้ไปลงทุนก่อน
เช่น ช่วงอายุยังไม่มาก ไม่ถึง 45 เราอาจจะเน้นเอาเงินเก็บไปลงทุนในหุ้น หรือกองทุนหุ้น หลังจากนั้นอาจจะเอาไปลงทุนในที่ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น ซื้อตราสารหนี้ ฝากประจำ หรือซื้อ
สลากออมสิน

ทำประกันหรือตรวจสอบสิทธิในการเบิกค่ารักษา
ถ้าเรามีรายได้มาก เราอาจจะเตรียมเงินสำหรับทำประกันไว้ แต่ถ้าไม่มากก็อาจจะตรวจสิทธิการรักษาของเราว่าสามารถรักษาได้ที่ไหน มีสิทธิ 30 บาทที่ไหน เพราะถ้าเจ็บป่วย
ร้ายแรงขึ้นมา จะได้รู้ว่าต้องจัดการอย่างไร และค่าใช้จ่ายยามหลังเกษียณ เพราะส่วนใหญ่จะเป็นในส่วนของค่ารักษาพยาบาลเช่นกัน

ลดรายจ่าย
เมื่ออายุมากขึ้นแล้ว สิ่งของหลายๆอย่างอาจไม่จำเป็นแล้ว เช่นมือถือรุ่นใหม่ๆ เสื้อผ้ายี่ห้อแพงๆ อาจจะลดค่าใช้จ่ายตรงนั้น และหันมาทำอาหารกินเองแบบง่ายๆ ปลูกผักเล็กๆ
น้อยๆ ไว้กินเอง หรือถ้าไปไหนใกล้ๆ บ้านก็อาจจะขี่จักรยานไป ถือเป็นการประหยัดและช่วยเรื่องสุขภาพไปในตัวด้วย

เริ่มกินอาหารเพื่อสุขภาพ
การที่ร่างกายเรามีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ระบบการเผาผลาญทำงานได้ไม่ดีเหมือนก่อน ถ้าเรายังมีพฤติกรรมการกินที่เหมือนเดิม อาจจะทำให้ร่างกายเราย่ำแย่ก่อนวัยอันควรได้
อาจจะต้องหันมากินอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น กินผักผลไม้มากขึ้น หรืออย่างน้อยก็หลีกเลี่ยงของทอดมัน อาหารรสจัดเกินไป หันมานึ่งหรือต้มบ้าง ไม่กินแต่ของที่ทำร้ายร่างกายตัวเอง
เพราะถ้าสุขภาพเสียไปก่อนแล้ว เงินเท่าไหร่ก็ไม่สามารถรักษาคุณได้ หรือรักษาได้แต่อาจจะไม่สมบูรณ์เหมือนเดิม

เตรียมหากิจกรรมเสริมทำ
บางคนอาจจะทำงานหนักมาตลอด พอเกษียณแล้วรู้สึกว่าตัวเองไร้คุณค่า ดังนั้น อาจจะต้องหางานอดิเรกทำ เช่น อ่านหนังสือ ดูหนัง ถักผ้า ทำอาหาร หรือทำของเล็กๆ น้อยๆ ขายตาม
ตลาดนัดบางคนอาจจะเน้นขายเพื่อให้ได้คุย ได้พบปะลูกค้าบ้าง หรืองานสอนพิเศษ อาสาสมัคร เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับคนรุ่นใหม่

ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 29-8-59

ฝึกคิดบวกอยู่เสมอ
สิ่งที่สำคัญที่สุดไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็คือความคิดของเราเอง เพราะเหตุการณ์ที่เหมือนกัน เราสามารถมองให้แตกต่างกันได้ ซึ่งการมองของเราก็จะส่งผลถึงความสุขของเราด้วย
บางคนมองว่า อายุเยอะแล้ว ทำอะไรไม่ได้แล้ว ก็อาจจะใช้ชีวิตอีก 10 ปีข้างหน้าแบบอยู่ไปวันๆ แต่ถ้าเขามองว่า เขาสามารถทำประโยชน์ได้อีกเยอะ เขาอาจหากิจกรรมทำ เข้าสังคม
หรือเผยแพร่ความรู้ของเราสู่รุ่นหลานได้

เอกสารอ้างอิง
……………………………………………………………………………………………………………
จากเว็บไซด์
http://www.thaihealth.or.th/Content/24844-8%20%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0
%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AD
%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%2060.html
https://www.dol.gov/ebsa/publications/10_ways_to_prepare.html

How to Prepare and Plan for Retirement


http://med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/06162014-1444

ส.ท.หญิง ปฐมพร พุ่มโพธิ์

ส.ท.หญิง ปฐมพร พุ่มโพธิ์