มีคำแนะนำสำหรับนักวิ่งทุกคนที่อยากประสบความสำเร็จในการวิ่ง….ดังนี้
.
1. วางแผนชีวิต และทำให้ได้
เพื่อน ๆ หลายคนบ่นว่าไม่มีเวลาวิ่งเลย (แอดมินก็เป็น) วัน ๆ กว่าจะไปถึงที่ทำงาน กว่าจะเลิกงาน ไหนจะฝนตก รถติด เพราะทุกคนต่างมีงาน มีภาระต่าง ๆ ต้องทำ แน่นอนว่าในวัน ๆ หนึ่งเราคงจะมีช่วงเวลาที่ไม่ได้วิ่ง (Non-Race) มากกว่าช่วงที่วิ่งหรือออกกำลังกาย (Race) อีกทั้งยังมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันมากมาย ไม่ว่าจะเป็นอากาศ การจราจร ไหนจะความเหนื่อยล้า ทะเลาะกับเพื่อน งอนกันแฟน หลักสำคัญคือเราต้องบริหารจัดการช่วง Non-Race ให้ได้ครับ ให้การวิ่งเป็นกิจวัตรที่เราต้องทำไม่ต่างจากการไปเรียน ไปทำงาน หรือเข้าประชุม ทุกคนต่างมีเวลา 24 ชั่วโมงเท่ากันในแต่ละวัน ไม่มีใครได้เกินแม้แต่วินาทีเดียว ใช้มันให้คุ้มค่าครับ วางแผนให้ดีและทำมันให้ได้
.
2. เลิกกังวลเรื่องคนอื่น
หลาย ๆ คนเห็นเพื่อนวิ่งได้ดี ลง Half/Full Marathon แต่ตัวเองยังวิ่ง fun run อยู่ก็เริ่มหมดกำลังใจ บางคนซ้อมจนทำเวลาได้ดีขึ้นแล้ว แต่พอเทียบกับคนอื่นที่วิ่งได้ดีกว่าก็เริ่มหมดใจ แต่เชื่อเถอะครับ….ต่อให้พยายามหนักหนาสาหัสแค่ไหน ให้วิ่งได้เร็วขึ้นแค่ไหน ก็จะมีคนที่วิ่งได้เร็วกว่าเราอยู่ดี ดังนั้นไม่มีประโยชน์ที่จะไปเทียบกับคนอื่นครับ เพราะมันไม่แฟร์เลย คนเราเกิดมาไม่มีใครเหมือนกัน คนที่เราควรจะเทียบคือ “ตัวเราเมื่อวาน” ต่างหาก!! ถ้าวันนี้เราวิ่งได้ดีกว่าเมื่อวาน วิ่งได้เร็วกว่า นานกว่า รู้สึกว่าเราแข็งแรงกว่าคนในกระจกเมื่อวาน แค่นี้ก็เยี่ยมแล้วล่ะครับ

3. ก้าวข้ามความผิดพลาด
เพื่อน ๆ บางคนมักจำฝังใจกับประสบการณ์วิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าจะเป็นวิ่งได้ไม่จบ เกิดอาการบาดเจ็บ หรือทำเวลาได้ไม่ดี การเก็บเอามาเป็นบทเรียนเพื่อพัฒนาการวิ่ง ปรับปรุงสิ่งที่ผิดพลาดเป็นเรื่องที่ดี แต่ไม่ควรนำมาคิดมากไปจนทำให้เราพะวงกับเรื่องที่ผ่านมาแล้ว เหล่านักวิ่งประสบการณ์สูงล้วนเจอเรื่องแย่ ๆ มาเยอะ แต่เชื่อไหมครับว่าหลายคนทำ new record ได้ในการวิ่งครั้งถัดจากการวิ่งแย่ ๆ ครั้งนั้นล่ะครับ
.
4. พักผ่อน
Rauschenberg เล่าว่าเค้าเป็น Coach มานาน และสิ่งที่กวนใจเค้ามากที่สุดสิ่งหนึ่งในชีวิตการเป็น Coach ของเค้าคือการที่เห็นลูกศิษย์เค้าซ้อมวิ่งใน Rest Day ซึ่งสมควรจะพักร่างกายให้เตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขัน เนื่องจากการพักผ่อนถือเป็นเรื่องสำคัญไม่ต่างจากการซ้อมเลย ถ้าไม่พัก ร่างกายเราก็ไม่มีเวลาที่จะซ่อมแซม และพัฒนากล้ามเนื้อให้แข็งแรงขึ้น ในปี 2006 ที่ Rauschenberg วิ่งมาราธอนทุกอาทิตย์นั้น เชื่อไหมครับว่ากลับเป็นปีที่เค้าทำระยะวิ่งตลอดปีได้น้อยที่สุดปีหนึ่งในชีวิตการวิ่งของเค้า เพราะหลักสำคัญคือการพักผ่อนให้ร่างกายได้พักฟื้น เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับอาทิตย์ถัดไปครับ

5. เรียนรู้ที่จะต่อสู้กับความเหน็ดเหนื่อย
หลาย ๆ คนที่ถอดใจเลิกวิ่งหรือวิ่งได้ไม่ต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเพราะรู้สึกอึดอัดกับความยากลำบากที่ต้องกำลังเจอขณะกำลังวิ่งทำให้เลิกวิ่งกลางคัน Rauschenberg แนะนำว่าเราต้องแยกแยะอาการบาดเจ็บกับอาการเหนื่อยล้าให้ออกจากกันให้ได้ครับ และเรียนรู้ที่จะต่อสู้กับอาการเหนื่อยล้า หิวข้าว กระหายน้ำ หลายคนพก Energy Gel ไว้รอบตัว ทั้งที่วิ่งแค่ 30 นาที ซึ่งร่างกายเราสามารถสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องอาศัยอาหารเหล่านั้น แต่เป็นเราเองที่กลัวความเหนื่อยล้าเกินไปล่ะครับ ทางทีดีคือกาเรียนรู้ที่จะสนุกไปกับมันครับ สนุกไปกับการวิ่ง ตั้งเป้าหมายไว้พุ่งชน ดีกว่ามัวแต่กลัวความเหนื่อยล้าที่จะเกิด
.
สุดท้าย….อย่าลืมว่าเราโชคดีแค่ไหนที่ได้ตื่นขึ้นมาวิ่ง มีอีกหลายคนที่ไม่มีโอกาสนี้ ไม่ว่าอากาศจะร้อนหรือหนาว เราจะง่วงหรือเพลีย ฝนจะตกหรือแดดจะแรง ขอแค่เราทำมัน!!! เริ่มออกไปวิ่ง และสนุกกับมันครับ 
