วิ่งตอนเช้ามีข้อดีอย่างไร

วิ่งตอนเช้ามีประโยชน์มากมาย ดังนี้ ช่วยให้ร่างกายสดชื่นและกระปรี้กระเปร่า เพิ่มการเผาผลาญแคลอรี ช่วยลดไขมัน เสริมสร้างหัวใจและหลอดเลือด ช่วยให้กระดูกและกล้ามเนื้อแข็งแรง เพิ่มภูมิคุ้มกัน ช่วยลดความเครียด ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น เพิ่มอารมณ์ดี เพิ่มพลังงาน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพิ่มคุณภาพชีวิต            …

วิงช้า … กับ… วิ่งเร็ว แบบไหน ..ได้อะไรบ้าง

              การวิ่งสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งวิ่งเพื่อการแข่งขัน วิ่งเพื่อการออกกำลังกาย และวิ่งเพื่อการลดน้ำหนัก ซึ่งแน่นอนในทุกรูปแบบของการวิ่งเราจะได้เผาผลาญพลังงาน น้ำ กล้ามเนื้อ และไขมันออกไป โดยปริมาณการเผาผลาญนั้นจะมากหรือน้อยจะขึ้นอยู่กับความเร็ว น้ำหนักตัวผู้วิ่ง เพศ อายุ และระยะทางที่วิ่งนั่นเอง…

วิ่งช้า / วิ่งเร็ว …. แบบไหนเบิร์นกว่า

          หากเราเดินหรือวิ่งเหยาะๆ ร่างกายจะเผาผลาญไขมันมากกว่าแป้ง เนื่องจากเป็นการออกกำลังกายที่ไม่เข้มข้น (low intensity workout) ทำให้เรายืนระยะ วิ่งได้ไกลและนานกว่า การวิ่งที่ใช้ความหนักมากกว่าเลยเหนื่อยเร็วกว่า ทำให้วิ่งได้ไม่นานจนถึงระยะเวลาที่ร่างกายจะดึงไขมันมาใช้เป็นพลังงาน นั่นเพราะร่างกายจะเริ่มเผาผลาญไขมันเมื่อมีเราเดินหรือวิ่งต่อเนื่องเป็นระยะเวลามากกว่า 30 นาทีขึ้นไป แต่หากระหว่างทางเราหยุดพักก่อน ร่างกายจะเรียนรู้และย้อนกลับไปเอาพลังงานจากส่วนอื่นมาใช้…

ฮีทสโตรก ภัยที่มาจากอากาศร้อน

อาการฮีทสโตรก ภัยจากอากาศร้อนมีตั้งแต่อาการน้อยจนถึงอาการมาก ผู้ป่วยที่มีอาการน้อยได้แก่ คนไข้ที่มีอาการตั้งแต่การบวมเฉพาะปลายมือ ปลายเท้า คนไข้ที่ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ เวียนหัว ผู้ป่วยที่มีอาการมาก ได้แก่ กลุ่มคนไข้ที่มีอาการขาดน้ำจากการสูญเสียความร้อนเยอะ และอีกกลุ่มคือกลุ่มฮีทสโตรกหรือโรคลมแดด เป็นกลุ่มที่รุนแรงที่สุด ฮีทสโตรกสามารถทำให้เสียชีวิตได้ ความร้ายแรงของฮีทสโตรก คือ ร่างกายมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น เมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นจะทำให้ระบบในร่างกายทำงานผิดปกติไป โดยความผิดปกติเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ มึนศีรษะ…

11 ประโยชน์…ที่จะได้รับ…จากการวิ่งตอนเช้า

ประโยชน์ที่เราจะได้รับจากการวิ่งในตอนเช้า 1. การวิ่งตอนเช้าช่วยลดความเสี่ยงในการหัวใจวาย เป็นที่รู้กันถึงคุณประโยชน์ที่ได้รับจากการวิ่ง เช่นทำให้หัวใจและปอดแข็งแรงขึ้น เสริมสร้างความทรหดและเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับหลอดเลือด ด้วยเหตุนี้การวิ่งจึงช่วยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมไปถึงสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด ตามข้อเท็จจริงแล้ว ผลการวิจัยแนะนำว่าการฝึกวิ่งอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะวิ่งไม่กี่กิโลเมตรต่อสัปดาห์ก็ตาม อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากสาเหตุต่างๆได้มากถึง 25-40% และสามารถทำให้อายุยืนได้มากขึ้นถึง 3 ปี เมื่อเทียบกับกลุ่มคนที่ไม่ได้วิ่ง ประโยชน์นี้ไม่ได้ส่งผลแค่เพียงต่อคนที่วิ่งตอนเช้าเท่านั้น แต่ส่งผลดีต่อนักวิ่งทุกคนเพราะมันช่วยลดโอกาสเป็นโรคหัวใจ ,…

3 แนวคิด..ทำแล้ว..วิ่งได้แน่นอน

เพื่อน ๆ หลายคนน่าจะมีเคยรู้สึกขี้เกียจวิ่งกันบ้างใช่ไหมครับ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่สุดท้ายแล้วปลายทางวันนั้นก็คือเราไม่ได้วิ่งอยู่ดี ซึ่งการเกิดเหตุการณ์แบบนี้ไม่ใช่สิ่งที่ดีแน่ ๆ และหากเกิดขึ้นบ่อย ๆ ก็สุ่มเสี่ยงที่จะทำให้เราเลิกวิ่งไปเลยได้เหมือนกัน วันนี้เราลองมาดู 3 แนวคิดที่จะปรับเปลี่ยนมุมมองทำให้เรารู้สึกกระตือรือร้นที่อยากจะออกไปวิ่งกันครับ โดย 3 แนวคิดนี้มาจาก New York Times ที่เขียนโดยคุณ Brad…

4 วิธี..ลดโอกาสเป็นตะคริวขณะวิ่ง

ตะคริว….ปัญหาที่เกิดขึ้นได้กับนักวิ่งทุกระยะไม่ว่าจะเป็นการวิ่งระยะสั้น ๆ หรือวิ่งมาราธอนเราก็สามารถเป็นตะคริวกันได้ทั้งนั้นครับ ซึ่งการเป็นตะคริวขณะวิ่งนั้นไม่ใช่เรื่องสนุกเลย เดี๋ยววันนี้เราลองมาดูแนวทางการป้องกันการเป็นตะคริวระหว่างวิ่งกันครับ ดื่มน้ำให้เพียงพอ น้ำกับนักกีฬานั้นเป็นของคู่กันที่ขาดไม่ได้เลย นอกจากน้ำจะช่วยเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกายและป้องกันภาวะขาดน้ำได้แล้ว การดื่มน้ำที่เพียงพอยังจะช่วยลดโอกาสในการเกิดตะคริวขณะวิ่งได้อีกด้วยครับ และถึงว่าจะเกิดตะคริวขึ้นแม้ดื่มน้ำมาพอสมควรแล้วอาการและความเจ็บปวดก็จะไม่รุนแรงเท่ากับตอนที่ร่างกายขาดน้ำ                    …

ออกกำลังเท่าใด…จึงจะช่วยในด้านภูมิคุ้มกัน..

               อย่างที่เราทราบกันดีว่าการออกกำลังกายเป็นประจำนั้นนอกจากจะทำให้ร่างกายเราฟิตแข็งแรงแล้วก็ยังสามารถช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้อีกด้วย แต่เพื่อน ๆ รู้ไหมครับว่าเราต้องออกกำลังกายกันมากน้อยแค่ไหนถึงจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายเราได้                  …

วิ่งแค่ไหน…ถึงจะทำให้สุขภาพดีขึ้น..

…………ถ้าใครก็ตามเริ่มหันมาสนใจการวิ่ง ไม่จำเป็นต้องวิ่งเร็วหรือระยะทางไกลก็ได้ เราจะเห็นความเปลี่ยนแปลงในด้านบวกที่สูงขึ้นมากในด้านสุขภาพ นักวิจัยจากประเทศออสเตรเลียได้วิเคราะห์ผลการศึกษาจำนวนกว่า 14 ชิ้น ซึ่งมีกลุ่มทดลองขนาดใหญ่ถึง 232,149 คน โดยติดตามสุขภาพของกลุ่มคนเหล่านี้จากอายุตั้งแต่ 5.5 ปี ไปจนกระทั่ง 35 ปี ในช่วงเวลาที่เก็บข้อมูลมีผู้เสียชีวิตไปประมาณ 26,000 คน และนี่คือส่ิงที่พวกเขาพบ “ไม่ว่าคุณจะวิ่งมากหรือวิ่งน้อยแค่ไหน…

ควรออกกำลังกาย….กี่วันต่อสัปดาห์ดีนะ…?

ธรรมชาติออกแบบให้ร่างกายมนุษย์ต้องมีการเคลื่อนไหว และออกกำลังเป็นประจำ แต่ด้วยสมัยนี้มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย ทำให้เราออกกำลังกายกันน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งเมื่อร่างกายมีการออกกำลังน้อยมาก ๆ เป็นเวลานานจะทำให้สมรรถภาพของร่างกายเราค่อย ๆ เสื่อมถอยลงเรื่อย ๆ ส่วนใครได้ทำงานที่ได้ออกแรงเยอะ ๆ ก็ถือว่าโชคดีไป แต่สำหรับพนักงานออฟฟิตส่วนใหญ่ ถือว่าใช้แรงกันน้อยมาก กล้ามเนื้อที่ไม่ค่อยได้ใช้ก็จะลีบเล็กลง, ร่างกายไม่กระปรี้กระเปร่า, ไขมันสะสมมาก สรุปง่าย ๆ…